หุ่นกระบอก - ค่ายมวยไชยา บ้านช่างไทย

TH / EN
Go to content

พบประมาณสมัยอยุธยาตอนต้น  (พ.ศ. 1892- 2171)
          เป็นแค่รูปปั้นหรือแกะที่ทำโกลนไว้เพื่อเป็นแบบชั่วคราว และรูปที่จำลองจากของจริง กล่าวคือ พบคำว่า "ช่างหุ่น" เป็นช่างพวกหนึ่งในช่างสิบหมู่

          สมัย อยุธยาตอนกลาง (พ.ศ. 2171- 2246)
          เอ่ยถึงมหรสพในงาน มีทั้งหุ่นและโขนน่าจะเป็นหุ่นไทยนอกจากนี้ยังมีการแสดงหุ่นลาวอีกด้วย

          สมัย อยุธยาตอนปลาย (พ.ศ. 2246- 2310)
          ปรากฏในบุณโณวาทคำฉันท์ของพระมหานาค วัดท่าราย เอ่ยถึงงานสมโภชน์พระพุทธบาท มีการแสดงหุ่นโรงใหญ่ และเริ่มเล่นเรื่องไชยทัด

          นอกจากจะมีการแสดงหุ่นไทยแล้ว ยังมีการแสดงหุ่นต่างภาค มีหุ่นมอญเล่นประชัน หุ่นพม่า คือ "หุนมอญหุนพะม่า สองภาษาประชันกัน"

          หุ่น กระบอกไทย (สมัยรัชกาลที่ ๖ สืบเนื่องมาจากรัชกาลก่อน)
          ประวัติความเป็นมาของหุ่นกระบอกไทย สืบได้ไกลที่สุดแค่เพียง "นายเหน่งอาศัยวัด อยู่เมืองสุโขทัย จำหุ่นไหหลำมาดัดแปลงเป็นหุ่นไทยและออกเชิดร้องเล่นหากิน"

          ต่อมา 'ม.ร.ว. เถาะ' มหาดเล็กในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ไปเห็นหุ่นกระบอกที่เมืองอุตรดิตถ์ จึงได้กลับมาสร้างหุ่น ตั้งคณะหุ่นกระบอกขึ้น เป็นคณะแรกในกรุงเทพฯ เมื่อพ.ศ. 2436 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

สมัยรัชกาลที่ ๗

          เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต กรมมหรสพก็ขาดหลักพึ่งพิง ประกอบกับได้ข่าวว่าทางการจะยุบกรมมหรสพ ข้าราชการต่างรู้สึกบ้านแตกสาแหรกขาดไปตามๆกัน ข้าวของในกรมมหรสพขาดคนเอาใจใส่ดูแลรักษา เล่ากันว่า

          'หัวหุ่นขุดคว้านภายในกะโหลกจนบางดี และเขียนด้วยช่างฝีมือเยี่ยมทำด้วยฝีมือประณีตงดงาม ก็ทอดทิ้งไว้กลาดเกลื่อน จนพวกเด็กๆเอาไปเตะกันเล่นต่างลูกยาง ไม่มีใครเก็บ ไม่มีใครห้ามปราม เพราะต่างคนต่างก็รู้สึกว่าหมดหน้าที่ ใครก็ไม่ห้ามใครได้ ศิลปวัตถุฝีมือดีๆ และพัสดุข้าวของเครื่องใช้ของหลวงจึงสูญสลายไปเสียในระยะนั้นมากมาย เป็นที่น่าเสียดายยิ่ง'

          เมื่อกรมมหรสพได้เข้ารวมอยู่ในกระทรวงวัง เมื่อพ.ศ. 2469 ก็ได้มอบเครื่องโขนละคร หัวหุ่น และตัวหุ่นหลวงทั้งหมดแก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ตั้งแสดงอยู่ ณ พระที่นั่งทักษิณาภิมุข ในหมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มาภายหลังทางพิพิธภัณฑ์ได้นำตัวหุ่นหลวงทั้งหมดที่เหลืออยู่ไปเก็บไว้ในคลัง โดยขาดผู้เหลียวแลเอาใจใส่ มีแต่ผุพังไปตามกาลเวลาเท่านั้น

หุ่นคณะต่างๆ

+  หุ่นครูเหน่ง    +  หุ่นตาดัด ยายหลี พิจิตร    +  หุ่นคณะเกาะ
+  หุ่นพระองค์สุทัศน์ฯ    +  หุ่นพระองค์เจ้าอนุสรณ์ฯ    +  หุ่นนายวิง
+  หุ่นพระยาสุนทร    +  หุ่นจางวางต่อ    +  หุ่นจางวางทั่ว
+  หุ่นนายเปียก    +  หุ่นนายเบี้ยว    +  หุ่นนายปั้น
+  หุ่นคณะชูเชิดชำนาญศิลปะ    +  หุ่นแม่สังวาล อิ่มเอิบ จังหวัดตาก    +  หุ่นคณะรอดศิรินิลศิลปะ
+  หุ่นจักรพันธุ์โปษยกฤต          

ลักษณะของหุ่นกระบอก
( ศีรษะ, เครื่องแต่งกาย, การประดิษฐ์ )

ศีรษะ โบราณจะแกะด้วยไม้เนื้อเบาทั้ง แท่ง เนื่องจากมีขนาดเล็กกว่าหุนใหญ่ แล้วปั้นเติมส่วนละเอียดต่างๆ ด้วยรัก หรือดิน หรือขึ้งผสมชัน บางคณะเป็นกระดาษที่ติดบนพิมพ์แล้วผ่าออกแบบการทำหัวโขน แต่ตรงคอหุ่นทุกหัว จะต้องมีแกนไม้กลมยาวลงมาประมาณ 3 นิ้ว สำหรับเสียบกับบ่าหุ่น

วัสดุในการทำหุ่น

หินสบู่แกะลายกระจัง สำหรับปั๊มลาย
ทองคำเปลว
ผ้าไหม หรือผ้าลายดอก
ผม
ดิ้น, เลื่อม, โปร่งเงิน, โปร่งทอง, มันเงิน, มันทอง, ลูกปัดสีต่างๆ, ไหม, เชือกเงิน, เชือกทอง (มีทั้งของเทียมและของแท้)
สีสำหรับเขียนหน้า
ฐานหุ่น, คอหุ่น, บ่าหุ่น
ผ้าทำดอกไม้
ผ้าทำพัด, ไม้สำหรับเหลาก้านพัด (แผ่นทองเหลืองหรือทองแดงก็ได้)
ปูนพลาสเตอร์, ดินน้ำมัน, ซิลิโคน, โพลิเอสเตอร์ ฯลฯ

Back to content